วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2558

มารยาท ระเบียบ และข้อบังคับในการใช้อินเทอร์เน็ต
                จากปัญหาการล่อลวงอันเกิดจากการเล่นอินเทอร์เน็ตที่นับวันยิ่งมีมากขึ้น ทำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบได้พยายามหามาตราป้องกันปัญหาและภัยจากการใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งเกิดจากคนที่ขาดจิตสำนึกที่ดีต่อสังคม ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของของคนทุกคนที่สร้างจิตสำนึกที่ดีต่อทั้งตนเอง และสังคม เพื่อหลีกเลี่ยงและรับมือกับความเสี่ยงจากภัยออนไลน์ ทั้งนี้รองศาสตราจารย์ยืน ภู่วรวรรณได้กล่าวถึง บัญญัติ 10 ประการ ซึ่งเป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตควรยึดถือไว้เสมือนเป็นแม่บทของการปฏิบัติ ซึ่งผู้ใช้พึงระลึกละเตือนความจำเสมอ ดังนี้
                1.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น เช่น ไม่เผยแพร่ข้อความกล่าวหาบุคคลอื่นให้ได้รับความเสียหาย ไม่เผยแพร่รูปภาพลามกอนาจาร
                2.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนการทำงานของผู้อื่น เช่น การเล่นเกมหรือเปิดเพลงด้วยคอมพิวเตอร์รบกวนผู้อื่นที่อยู่ใกล้เคียง
                3.ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต
                4.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
                5.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
                6.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์คัดลอกหรือใช้โปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต
                7.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
                8.ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
                9.ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันเป็นผลมาจากการกระทำของตน
                10.ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎ ระเบียบ กติกา และมีมารยาทของหน่วยงาน สถาบันหรือสังคมนั้นๆ






วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สู้เพื่อแม่

            วันที่ 28 มกราคม พ.ศ.2545 เป็นวันที่ผมได้เกิดมาได้เจอหน้าแม่เป็นครั้งแรก ตอนเด็กๆผมชอบตื่นมาร้องไห้ตอนกลางดึก ทำให้แม่ตื่นและนอนไม่เต็มอิ่ม แต่แม่ก็ตื่นมาดูแลผมไม่เคยบ่นว่าเหนื่อย ถึงแม้แม่จะเหนื่อย แม่ต้องอดทดเลี้ยงดูผมตั้งแต่เล็กจนโตจนทำให้ผมได้ประสบความสำเร็จมากมาย เช่น แม่ส่งเสียผมให้เรียนหนังสือ ส่งผมไปเรียนพิเศษ พาไปเที่ยว ซื้อขนมและของกินต่างๆให้กิน ให้ผมอิ่มทั้งที่แม่ยังไม่ได้กินอะไรเลย ผมอยากจะช่วยแม่ทำงานบ้าน ลดงานบ้านให้กับแม่ เวลาแม่กลับมาบ้านจะได้ไม่ต้องมาทำงานบ้านให้เหนื่อยมากขึ้น เพราะว่าแม่ผมเป็นพยาบาลต้องขึ้นเวร ต้องเดินอยู่ตลอดเวลา วันหยุดของพยาบาลก็มีน้อย ทำให้แม่ไม่สบายอยู่บ่อยครั้ง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ผมก็ได้ไปซ้อมกิจกรรมปั่นจักรยานเพื่อแม่ Bike For Mom ตอนซ้อมฝนจะตกหนักแต่ผมก็ยังซ้อมปั่นจักรยานอยู่เป็นระยะทาง 36 กิโลเมตร พอกลับถึงบ้านเป็นเวลาเกือบทุ่มครึ่ง แม่บอกว่าไม่น่าปั่นต่อเลยฝนตกก็น่าจะกลับบ้านได้แล้ว เดี๋ยวก็เป็นหวัดหรอก แสดงถึงความเป็นห่วงของแม่ ถ้าชาติหน้ามีจริงขอให้ผมได้เกิดมาเป็นลูกแม่อีกครั้ง ผมอยากจะบอกแม่ว่าผมรักแม่ที่สุดในโลก


วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วัณโรค (อังกฤษ: Tuberculosis) หรือ MTB หรือ TB (ย่อจาก tubercle bacillus) เป็นโรคติดเชื้อที่พบบ่อย และถึงแก่ชีวิตของผู้ป่วยในหลายกรณี ที่เกิดจากไมโคแบคทีเรียหลายสายพันธุ์ ตามปกติคือ Mycobacterium tuberculosis[1] วัณโรคโดยปกติก่อให้เกิดอาการป่วยที่ปอด แต่ยังสามารถส่งผลกระทบต่อส่วนอื่นของร่างกายได้ วัณโรคแพร่ผ่านอากาศเมื่อผู้ที่มีการติดเชื้อ MTB มีฤทธิ์ไอ จาม หรือส่งผ่านน้ำลายผ่านอากาศ[2] การติดเชื้อในมนุษย์ส่วนมากส่งผลให้เกิดไร้อาการโรค การติดเชื้อแฝง และราวหนึ่งในสิบของการติดเชื้อแฝงท้ายที่สุดพัฒนาไปเป็นโรคมีฤทธิ์ ซึ่ง หากไม่ได้รับการรักษา ทำให้ผู้ติดเชื้อเสียชีวิตมากกว่า 50%
อาการตรงต้นแบบมีไอเรื้อรังร่วมกับเสมหะมีเลือดปน ไข้ เหงื่อออกกลางคืน และน้ำหนักลด การติดเชื้อในอวัยวะอื่นก่อให้เกิดอาการอีกมากมาย การวินิจฉัยต้องอาศัยรังสีวิทยา (โดยมากคือ การเอ็กซ์เรย์อก) การทดสอบโรคบนผิวหนัง การตรวจเลือด เช่นเดียวกับการตรวจโดยทางกล้องจุลทรรศน์และการเพาะเชื้อจุลชีววิทยาต่อของเหลวในร่างกาย การรักษานั้นยากและต้องอาศัยการปฏิชีวนะยาวหลายคอร์ส
คาดกันว่าหนึ่งในสามของประชากรโลกติดเชื้อ M. tuberculosis[3][4] และมีการติดเชื้อใหม่เกิดขึ้นในอัตราหนึ่งคนต่อวินาที ใน พ.ศ. 2550 มีการประเมินว่ามีกรณีมีฤทธิ์เรื้อรัง 13.7 ล้านคน[5] และใน พ.ศ. 2553 มีกรณีใหม่ 8.8 ล้านกรณี และผู้เสียชีวิต 1.45 ล้านคน ส่วนมากในประเทศกำลังพัฒนา[6] จำนวนสัมบูรณ์ผู้ป่วยวัณโรคลดลงตั้งแต่ พ.ศ. 2549 และกรณีใหม่ตั้งแต่ พ.ศ. 2545[6] นอกเหนือจากนี้ คนในประเทศกำลังพัฒนาติดต่อวัณโรคมากกว่า เพราะระบบภูมิคุ้มกันมีแนวโน้มเป็นอันตรายมากกว่าเนื่องจากอัตราโรคเอดส์ที่สูงกว่า[7] การกระจายของวัณโรคไม่ได้เป็นแบบแผนทั่วโลก ราว 80% ของประชากรในประเทศเอเชียและแอฟริกาหลายประเทศให้ผลบวกเมื่อทดสอบผิวหนัง ขณะที่ประชากรสหรัฐอเมริกาเพียง 5-10% เท่านั้นที่ให้ผลบวก

อ่านเพิ่มเติม :วัณโรค



ไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่ (อังกฤษ: influenza หรือ flu) เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ อาจมีอาการเล็กน้อยไปถึงรุนแรง อาการที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ ไข้สูง คัดจมูก เจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ไอและรู้สึกเหนื่อย อาการเหล่านี้ตรงแบบเริ่มสองวันหลังได้รับไวรัสและส่วนมากอยู่นานไม่เกินสัปดาห์ ทว่า อาการไออาจกินเวลานานกว่าสองสัปดาห์ได้ ในเด็ก อาจมีคลื่นไส้อาเจียน แต่ไม่ใช่อาการปกติในผู้ใหญ่ อาการคลื่นไส้อาเจียนเกินบ่อยกว่าในกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบซึ่งเป็นโรคติดเชื้ออีกโรคหนึ่ง ที่บ้างเรียกผิด ๆ ว่าเป็น "ไข้หวัดลงกระเพาะ" (stomach flu) หรือ "ไข้หวัด 24 ชั่วโมง" (24-hour flu) อาการแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่อาจมีปอดบวมจากไวรัส ปอดบวมจากแบคทีเรียตาม โพรงอากาศ (sinus) ติดเชื้อ และปัญหาสุขภาพที่มีอยู่เดิมแย่ลง เช่น โรคหอบหืดหรือภาวะหัวใจล้มเหลว

โดยทั่วไป ไข้หวัดใหญ่ติดต่อผ่านอากาศโดยการไอหรือจาม ซึ่งปลดปล่อยละอองลอยที่มีไวรัส ไข้หวัดใหญ่ยังสามารถส่งผ่านโดยการสัมผัสโดยตรงกับมูลหรือสารคัดหลั่งจากจมูกของนก หรือผ่านการสัมผัสกับพื้นผิวที่ปนเปื้อน คาดกันว่าละอองลอยที่มาทางอากาศก่อให้เกิดการติดเชื้อมากที่สุด แต่ยังไม่ทราบช่องทางการส่งผ่านที่สำคัญที่สุด ไวรัสไข้หวัดใหญ่สามารถลดฤทธิ์ด้วยแสงแดด สารฆ่าเชื้อและสารชะล้างได้ การล้างมือบ่อย ๆ ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ เพราะสบู่สามารถลดฤทธิ์ไวรัส



อ่านเพิ่มเติม : ไข้หวัดใหญ่


วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ตามนโยบายของ คสช.

1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 

2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม 

3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ 

4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม 

5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม 

6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน 

7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง 

8. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่ 

9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 

10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่ายจำหน่าย และพร้อมที่จะขยายกิจการเมื่อมีความพร้อม เมื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี 

11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออ านาจฝ่ายต่ า หรือกิเลส มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา 
 

12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง




วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2558

พรบ.คอมพิวเตอร์

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมาย ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ประวัติ

ชื่อ: ด.ช.สัตยา  อยู่ศิริ  ชั้นม.2/3
ชื่อเล่น: พัฒน์
เกิดเมื่อ:  วันที่ 28 เดือนมกราคม พ.ศ. 2545
อายุ: 13 ปี
ที่อยู่: 41/1 หมู่ 3 ตำบลโรงหีบ อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
จบจากโรงเรียน: ล้อมรักอัมพวา
วิชาที่ชอบ: วิชาวิทยาศาสตร์
วิชาที่ไม่ชอบ: ภาษาอังกฤษ
อาชีพที่ใฝ่ฝัน: นักวิทยาศาสตร์
อาหารที่ชอบ: หอยหลอดผัดฉ่า
ผลไม้ที่ชอบ: ทุเรียน
ประเทศที่อยากไป: ประเทศสิงคโปร์
สีที่ชอบ: สีแดง  สีเหลือง
งานอดิเรก: เล่นเกม  ดูโทรทัศน์
สัตว์ที่ชอบ: สุนัข
ดอกไม้ที่ชอบ: ดอกจำปี